เมื่อเสาเข็มไปส่งที่หน่วยงานก่อสร้าง เจ้าของบ้านควรสังเกตจุดต่างๆ เบื้องต้น ดังนี้
1. การขนส่งจะไม่ทำให้เสาเข็มเสียหายหากใช้สายรัด(โซ่) และวางไม้หมอนรองเสาเข็มในจุดยกเสาเข็มที่กำหนดไว้ 2 จุด ดังรูป
สภาพพื้นที่ก่อสร้างส่วนใหญ่จะมีความสูงต่ำของดินที่ไม่เท่ากัน ไม้รองเสาจะช่วงป้องกันเสาเข็มชำรุดหน้างานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การรองโซ่ด้วยกระสอบช่วยป้องกันการแตกบิ่นของเสาเข็ม
2. การกองเก็บเสาเข็มปกติจะใช้ไม้ที่มีความสูงมากกว่าความสูงของหูยกเสาเข็ม วางรับในตำแหน่งให้ตรงกับจุดยกเสาเข็มทั้ง 2 จุด โดยวางเรียงให้ตรงกันทุกต้น ดังรูป
การกองเก็บเสาเข็ม (การรองไม้หมอน)
3. บริเวณหัวเสาเข็มจะระบุขนาด ความยาว วันเดือนปีที่ผลิต โรงงานที่ผลิต เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน (โลโก้) เหล็กเสริมพิเศษต่างๆ (ถ้ามี) และมาตรฐาน มอก.396-2549 (ถ้ามี) ดังรูป
การทำเครื่องหมายการค้า (ประทับตราโลโก้) การทำเครื่องหมาย มอก.
4. ตรวจว่าเกิดความเสียหายขณะขนส่งเคลื่อนย้ายหรือไม่ (รอยแตกบิ่น)
5. ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของเสาเข็ม เนื้อคอนกรีตแลดูสม่ำเสมอ ไม่โก่งงอตัวขึ้น หรือแอ่นตัวลงเกินมาตรฐาน ไม่มีรอยโพรงพรุน เสียรูป ต้องไม่มีรอยร้าวต่อเนื่องกันเกินครึ่งหนึ่งของส้นรอบรูป หรือ มีรอยแตกลึกถึงเหล็ก รอยแตกตื้นๆ (ลายงา) เกิดขึ้นจากคอนกรีตหดตัว เป็นรอยที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม
6. บริเวณหัวเสาเข็มจะต้องได้ฉากกับตัวเสาเข็ม และต้องมีผิวเรียบไม่นูน หรือเว้าลง ตรวจดูที่หัวเสาเข็มว่ามีเหล็กโผล่ซึ่งอาจเป็นอัตรายขณะตอกซึ่งทำให้หัวเสาเข็มแตกได้ง่ายดังรูป
หัวเสาเข็มได้ฉากกับตัวเสาเข็ม
7. เพลท จุดต่อเชื่อมเสาเข็ม ต้องเรียบไม่โก่ง เจียร์แต่งให้เรียบร้อยไม่มีเหล็กโผล่ และตรงขอบเพลทต้องเจียร์ลบเป็นมุมไว้ เพื่อให้การเชื่อมต่อเสาเข็มแน่นหนามากที่สุด ดังรูป
ลักษณะหัวเพลทต่อเชื่อมที่มีคุณภาพ
เมื่อเจ้าของบ้านรู้วิธีตรวจสอบเสาเข็มเบื้องต้น ก็จะสามารถมั่นใจว่า ได้รับเสาเข็มที่มีคุณภาพ เพิ่มความอุ่นใจในทุกกระบวนการสร้างบ้านหลังสำคัญของคุณ
เขียนโดย
คุณ นริศ บุญญาวินิจ
(วิศวกรประจำ บริษัท เพชรธานีคอนกรีต จำกัด)